3/01/2562

วิธีใช้ดินวิทยาศาสตร์

วิธีใช้ดินวิทยาศาสตร์
โพลีเมอร์ที่ได้จากการสังเคราะห์ ซึ่งผลที่ได้ทำให้เกิดสารโพลีเมอร์ชนิดหนึ่งมีความสามารถในการดูดน้ำสูง ความสามารถในการดูดน้ำนี้เป็นผลมาจากการสร้าง หรือก่อโยงเชื่อมขวางระหว่างสารโพลีเมอร์ที่มีโมเลกุลเชิงเส้นตรง โดยสารที่ก่อหรือกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมต่อ มีผลทำให้เกิดโพรงช่องว่างในระหว่างโมเลกุลของเส้นขนาน และช่องว่างนี้เองที่มีความสามารถเก็บกักน้ำไว้ เมื่อแห้งสนิทมีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว เมื่อเปียกน้ำจะพองออกโดยอุ้มน้ำแล้วมีลักษณะแบบวุ้น เมื่อโพลีเมอร์แห้งสัมผัสกับน้ำ โมเลกุลของน้ำสามารถผ่านเข้าไปได้ ขนาดของโพลีเมอร์จะขยายขึ้นตามปริมาณน้ำที่เข้าไปอยู่ภายใน โดยปกติจะสามารถอุ้มน้ำได้ 300 - 500 เท่าของน้ำหนักแห้ง การดูดน้ำจะเป็นไปอย่างรวดเร็วใน 5 นาทีแรก คือ ดูดได้ประมาณ 400 เท่าจากน้ำจะค่อย ๆ ดูดน้ำอย่างช้า ๆ ถ้ามีปริมาณน้ำมากเกินพอโพลีเมอร์จะดูดน้ำเข้าไป จนถึงจุดอิ่มตัวหลังจากนั้นจะไม่ดูดน้ำอีกไม่ว่าจะทิ้งไว้นานเท่าไร โพลีเมอร์จะดูดน้ำได้มากที่สุด เมื่อเป็นน้ำบริสุทธิ์และจะดูดได้น้อยลงเมื่อมีเกลือ หินปูน หรือมีสภาพเป็นกรดด่าง
การใช้โพลีเมอร์ช่วยในการปลูกปาล์มและยางพารา

ขายดินวิทยาศาสตร์ เจลดินคริสตัล ราคาปลีก/ส่ง
Facebook แฟนเพจ https://www.facebook.com/suanattaporn
Line page : @suanattaporn











จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ เมล็ดพันธุ์ไม้ จากต่างประเทศ หลากชนิดจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง
ชมสินค้าทั้งหมดและสั่งของได้ที่เว็บร้านครับ
http://www.suanattaporn.com/
Facebook แฟนเพจ https://www.facebook.com/suanattaporn
Line page : @suanattaporn
(กดเพิ่มเพื่อนและอย่าลืมใส่ @ ด้วยนะ)
e-mail : hokcamain1@hotmail.com

#วิธีใช้ดินวิทยาศาสตร์



โพลีเมอร์มีแรงยึดน้ำที่อุ้มไว้ต่ำกว่าแรงดึงจากพืช รากสามารถเจริญ แทงผ่านเข้าไปในโพลีเมอร์เปียกได้ปรุโปร่งราก สามารถดึงดูดน้ำออกจากโพลีเมอร์ได้จนน้ำหยดสุดท้าย โดยโพลีเมอร์ไม่สามารถดึงน้ำออกจากพืชได้เลย โพลีเมอร์เปียกจะถูกดูดน้ำไปเรื่อย ๆ จนแห้งและยุบลงจนเหลือขนาดเล็กนิดเดียว ซึ่งกลายเป็นโพรงที่ว่างอยู่ในพื้นดิน ถ้ารดน้ำหรือฝนตกอีก น้ำจะเข้าไปในโพรงนี้ โพลีเมอร์จะเปียกและอุ้มน้ำได้อย่างรวดเร็ว ถ้ามีน้ำมากเกินความสามารถที่จะอุ้มน้ำได้ น้ำส่วนเกินก็จะไหลซึมลงดินตามปกติ
การใช้โพลีเมอร์รองก้นหลุมก่อนปลูกกล้านั้น ทำให้กล้าที่นำไปปลูกได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ น้ำช่วยในการละลายแร่ธาตุอาหารสำหรับพืช น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในขบวนการสังเคราะห์แสง การลำเลียงอาหาร กล้าไม้จึงมีอัตราการรอดตายสูงสามารถตั้งตัวได้เร็ว และเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพราะน้ำฝนที่ตกลงมาบางส่วนจะถูกสะสมไว้ ไม่ไหลซึมไปโดยเปล่าประโยชน์ บริเวณที่มีโพลีเมอร์อยู่จะมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา จุลินทรีย์จะเกาะติดกับอนุภาคดินมีลักษณะเป็นเมือกบาง ๆ ช่วยอุ้มน้ำได้ส่วนหนึ่ง เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ดินบริเวณนี้จะค่อยๆ อุ้มน้ำได้ดีขึ้นเองเพราะจุลินทรีย์ เนื่องจากกิจกรรมของจุลินทรีย์เป็นไปด้วยดี มีผลพลอยได้เป็นสารฮิวมิค แอซิด กระตุ้นการเจริญของรากและทำให้ดินร่วนซุย โพลีเมอร์จะมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี จุลินทรีย์จะค่อย ๆ ย่อยสลายโพลีเมอร์ให้แตกตัวไป สำหรับดินเหนียวไม่ควรใช้โพลิเมอร์ เพราะสามารถอุ้มน้ำได้มากอยู่แล้ว แต่มีปัญหาที่การระบายน้ำควรใช้วัสดุอื่น เช่น แกลบ ปุ๋ยคอก เศษพืชต่าง ๆ ผสมแทน

การนำโพลิเมอร์ที่ดูดน้ำเต็มที่แล้วไปใส่ในหลุมปลูกยางพาราตอนปลูกเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน พื้นดินแห้งแล้ง ดินก็จะดูดน้ำจากโพลิเมอร์รากต้นยางก็จะได้น้ำหรือธาตุอาหารที่ต้องใช้น้ำเป็นตัวทำละลายจากดินอีกต่อหนึ่งเมื่อพื้นดินได้รับน้ำเพิ่มเข้ามาก็จะถูกโพลิเมอร์ดูดเก็บไว้ใช้เมื่อพื้นดินแห้งแล้งวนเวียนต่อไป


วิธีใช้สารอุ้มน้ำ
ในการปลูกยางพารา/ปาล์มน้ำมัน  สารอุ้มน้ำ 1 กิโลกรัมใช้ปลูกยางได้ ประมาณ 200-400 ต้น ซึ่งมีขั้นตอนคร่าว ๆ ดังนี้

แช่สารอุ้มน้ำ ให้ดูดน้ำให้เต็มที่สารอุ้มน้ำ  จำนวน 1 ก.ก.ต่อน้ำ 200 ลิตรแช่ทิ้งไว้ 4 ชม. หรือค้างคืน) สามารถนำปุ๋ยน้ำ หรือฮอร์โมนต่าง ๆ ผสมน้ำในการแช่ สารอุ้มน้ำ  ได้ซึ่งปุ๋ยน้ำ หรือฮอร์โมนต่าง ๆ จะถูก สารอุ้มน้ำ  ดูดซึมเข้าไปทำให้ สารอุ้มน้ำ เสมือนเป็นเม็ดปุ๋ย ช่วยให้ต้นไม้ได้น้ำและปุ๋ยฮอร์โมนพร้อมกัน
ในวันปลูก ให้รองก้นหลุมด้วยโพลิเมอร์ที่แช่น้ำแล้ว 1 กระป๋องนม
นำต้นไม้ลงปลูกโดยตั้งลงบน สารอุ้มน้ำ  แล้วถมดินลงไปครึ่งหนึ่งของตุ้มดินที่หุ้มรากยางอยู่
เทสารอุ้มน้ำ  อีก 1-2 กระป๋องนมลงรอบ ๆ ตุ้มดินที่หุ้มรากยางอยู่
(ในเขตแห้งแล้งมาก ๆ ในขั้นตอนนี้แนะนำให้ใส่ 2 กระป๋องนม)
กลบและอัดดินให้แน่น ตามวิธีการปลูกยางตามปกติ
หลังจากใช้สารอุ้มน้ำ  แล้ว พื้นดินควรได้รับน้ำบ้าง 2-3 เดือนต่อครั้งและหากทำการคลุมโคนด้วย
หญ้าแห้งหรือเศษวัสดุทางการเกษตรได้ก็จะทำให้คุณสมบัติการดูดเก็บน้ำของ สารอุ้มน้ำ  ดีมากยิ่งขึ้น

หากต้องการใช้กับต้นไม้ที่ปลูกแล้วก็สามารถใช้ได้เช่นกันหลักการก็คือต้องฝังสารอุ้มน้ำ  (ที่อุ้มน้ำแล้ว)
ลงในดินบริเวณปลาย ๆ ราก หากเป็นยางที่ปลูกแล้ว 1-2 ปีก็ควรขุดหลุมลึกประมาณ 20 ซม.(ควรทำในช่วงดินนุ่ม ๆ ) สัก 2-3 หลุมแล้วใส่ สารอุ้มน้ำ  ที่แช่น้ำแล้วหลุมละ 1 กระป๋องนม แล้วกลบดินทำเป็นแอ่งไว้รับน้ำหน่อยก็ดี ถ้าให้ดีขึ้นอีก ก็ควรคลุมโคนก่อนเข้าหน้าแล้ง

           - ใช้กับไม้กระถางหรือถุงเพาะชำโดยผสมดินปลูกตามวิธีที่ทำมาแต่เดิม คือใช้ดิน 6 ส่วนผสมกับโพลิเมอร์ที่แช่น้ำพองตัวเต็มที่ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วปลูกพืช ผลที่ได้รับ คือ พืชเจริญเติบโตงามสม่ำเสมอ ไม่ต้องรดน้ำบ่อยครั้ง ลดค่าแรง พืชงามทน
          - ใช้กับการปลูกไม้ผล เช่น มะม่วง ขนุน เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย ระกำ ลางสาด ลองกอง จำพวกไม้ผลทุกชนิดต้นที่ปลูกใหม่หรือปลูกไปแล้วจะใช้โพลิเมอร์ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัม หว่านกระจายที่ก้นหลุมแล้วจึงปลูกลงไปแล้วรดน้ำเพื่อให้โพลิเมอร์พองตัวอุ้ม น้ำ หรือใช้โพลิเมอร์เปียก 1-2 ลิตร รองก้นหลุมทุกครั้งที่ปลูก หรือใส่บริเวณโคนต้นสำหรับพืชที่ปลูกแล้วและกลบดินต้นไม้จะรอดตายเกือบ 100 %

          - ผสมวัสดุอื่นช่วยประหยัดน้ำในการลดน้ำ และรักษาน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยผสมโพลิเมอร์ที่เปียกน้ำแล้ว 1-30 กิโลกรัมต่อวัสดุปลูก 1 ลูกบาศก์เมตร หรือ 10 % ของวัสดุปลูก

          - ในแปลงปลูกช่วยรักษาน้ำในดินให้เพียงพอโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตของพืช พืชไร่ พืชผัก ไม้ประดับ และสนามหญ้า ใช้โพลิเมอร์แห้ง 1-10 กรัมต่อหลุม ไม้ผลไม้ยืนต้นใช้โพลิเมอร์แห้งตั้งแต่ 5-10 กรัมต่อต้น

ผสมโพลิเมอร์ในวัสดุปลูกก่อนที่จะปลูกพืช

          - การเพาะเมล็ดเพื่อให้เมล็ดได้รับความชื้นอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง โดยใช้โพลิเมอร์ผสมวัสดุเพาะปลูก 1 ต่อ 10

          - การขยายพันธุ์ โดยการปักชำและการตอน ใช้โพลิเมอร์ในรูปของวุ้น 10 % ผสมในวัสดุที่ใช้ในการขยายพันธุ์