7/18/2555

คลิปสะเทือนใจ! แม่โลมาแบกลูกที่ตายไว้บนหลัง ไม่ยอมทิ้งลูก



คลิปสะเทือนใจ! แม่โลมาแบกลูกที่ตายไว้บนหลัง ไม่ยอมทิ้งลูก


Mthainews: สำนักข่าวต่างประเทศเผยแพร่คลิปวีดิโอสุดสะเทือนใจ เหตุการณ์โลมาแบกลูกที่ตายแล้วไว้บนหลัง กลางทะเลบริเวณอ่าวซานเหนียง เมืองชินโจว ทางตอนใต้ของจีน  โดยคลิปดังกล่าวเป็นของนักท่องเที่ยวที่บันทึกไว้ หลังจากที่เห็นโลมาขนาดความยาว 3 เมตร กำลังแบกลูกของตัวเองไว้บนหลัง



โดยเมื่อสังเกตที่ท้องลูกของมันมีบาดแผล ยาวราว 30 เซนติเมตร ด้วยสภาพคลื่นที่แรงทำให้ลูกโลมาหล่นลงไปในทะเลหลายครั้ง แต่แม่โลมาก็พยายามนำตัวลูกของมันมาแบกไว้บนหลัง เป็นความรู้สึกของปลาโลมาที่ไม่สามารถรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้

ด้านชาวประมง ให้ข้อมูลว่า คาดว่า ลูกโลมามีสีชมพูที่เพิ่งเกิดใหม่ และน่าจะจะตายมาแล้ว 2-3 วัน แต่แม่ของมันยังคงไม่ยอมทิ้งลูก และพยายามแบกลูกไว้บนหลังตลอดทั้งวันทั้งคืน แสดงถึงความรู้สึกของผู้เป็นแม่ ที่โลมาก็มีไม่ต่างจากคน แต่อย่างไรก็ตาม ลูกโลมาก็ไม่ฟื้นคืนกลับมาได้ สร้างความสะเทือนใจกับผู้คนที่พบเห็นเป็นอย่างมาก




ขอบคุณที่มา : http://news.mthai.com/world-news/177653.html


7/16/2555

โปรเสริมทรูมูฟ มี 2 แบบ โทรไม่อั้น กับ โทรถูก เลือกเอาเลยครับ

โปรเสริม แบบ โทรไม่อั้น
กด *777*801# โทรออก 9 บาท ใช้ได้ 1 วัน ตั้งแต่ 22:00-17:00 น. โทรไม่อั้นเฉพาะในเครือข่ายทรูมูฟ  นอกเวลาโปรนาทีละ 1 บาท
กด *777*803# โทรออก 27 บาท ใช้ได้ 3 วัน ตั้งแต่ 22:00-17:00 น. โทรไม่อั้นเฉพาะในเครือข่ายทรูมูฟ นอกเวลาโปรนาทีละ 1 บาท
กด *777*807# โทรออก 60 บาท ใช้ได้ 7 วัน ตั้งแต่ 22:00-17:00 น. โทรไม่อั้นเฉพาะในเครือข่ายทรูมูฟ นอกเวลาโปรนาทีละ 1 บาท
การโทรก็จะตัดทุกๆ 30 นาทีครับ

โปรเสริม แบบ โทรถูก
กด *777*501#  โทรออก 5 บาท ใช้ได้ 1 วัน ตั้งแต่ 22:00-18:00 น. โทรนาทีละ 10 สต. เฉพาะในเครือข่ายทรูมูฟ  นอกเวลาโปรนาทีละ 1 บาท
กด *777*503# โทรออก 15 บาท ใช้ได้ 3 วัน ตั้งแต่ 22:00-18:00 น. โทรนาทีละ 10 สต. เฉพาะในเครือข่ายทรูมูฟ นอกเวลาโปรนาทีละ 1 บาท
กด *777*507# โทรออก 30 บาท ใช้ได้ 7 วัน ตั้งแต่ 22:00-18:00 น. โโทรนาทีละ 10 สต. เฉพาะในเครือข่ายทรูมูฟ นอกเวลาโปรนาทีละ 1 บาท

ผู้ใช้โปรโมชั่น ซิม Success ซิมอินเตอร์ ซิมเกมเทพ ซิม Student BlackBerry Super Chat   และโปรโมชั่นคุยไม่อั้นกลางคืน คุยไม่อั้นกลางวัน คุยไม่อั้น179 ซุปเปอร์บุฟเฟ่ต์ และ คุ้มจัง  ------------------------------ไม่สามารถสมัครโปรนี้ได้ นะครับ

7/13/2555

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ภาษีป้าย


ภาษีป้าย เป็น ภาษีอีกประเภทหนึ่งที่ทุกคนควรจะรู้ โดยเฉพาะอย่างผู้ประกอบการที่ต้องทำป้าย เพื่อโฆษณา และ ประชาสัมพันธ์ หรือ ติดตั้งป้ายแสดงชื่อกิจการ  ซึ่ง มีคนจำนวนไม่น้อย ยังไม่ทราบโดยชัดเจน จึงได้รวบรวมมาเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง ภาษีป้าย หมายถึง ภาษีที่เก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือ ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ  ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลักจารึกหรือทำให้ปรากฎด้วยวิธีอื่น
1. ป้ายที่ต้องเสียภาษี

1.1 ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย ได้แก่ ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือ ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดง หรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย ที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ
1.2 ไม่เป็นป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีป้าย

2. ป้ายที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้าย

2.1 ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพ และบริเวณของโรงมหรสพนั้น เพื่อโฆษณามหรสพ
2.2 ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้า หรือที่สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้า
2.3 ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
2.4 ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
2.5 ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็น
ที่รโหฐาน ทั้งนี้เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง
(กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2542)
กำหนดว่าต้องเป็นป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกินสามตารางเมตร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2542) แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
2.6 ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดิน
2.7 ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือตามกฎหมาย
ว่าด้วยการนั้นๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
2.8 ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณ์ และบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2.9 ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ
อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น
2.10 ป้ายของผู้ประกอบการเกษตร ซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
2.11 ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
2.12 ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
2.13 ป้ายที่กำหนดในกฎกระทรวง
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 กำหนดป้ายที่ได้รับ
การยกเว้นภาษีป้ายคือ
(1) ป้ายที่แสดงหรือติดตั้งไว้ที่รถยนตร์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์
(2) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน
(3) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก (1) และ (2) โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตาราง เซนติเมตร

3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
3.1 เจ้าของป้าย
3.2 ในกรณีที่ไม่มีผู้อื่นยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้น ได้ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือ ผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีป้ายตามลำดับ

4. ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
4.1 เจ้าของป้ายที่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
4.2ในกรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคมหรือติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณี

5. การคำนวณพื้นที่ป้าย อัตราค่าภาษีป้าย และการคำนวณภาษีป้าย
5.1 การคำนวณพื้นที่ป้าย
5.1.1 ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ ส่วนกว้างที่สุด x ส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้าย
5.1.2 ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้ ถือตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนด ส่วนกว้างที่สุด ยาวที่สุด แล้วคำนวณตาม 5.1.1
5.1.3 คำนวณพื้นที่เป็นตารางเซนติเมตร

5.2 อัตราภาษีป้าย แบ่งเป็น 3 อัตรา ดังนี้อัตราภาษีป้าย (ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร)
5.2.1 อักษรไทยล้วน      3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
5.2.2 อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ/ภาพ/เครื่องหมายอื่น 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
5.2.3 ป้ายดังต่อไปนี้
ก. ไม่มีอักษรไทย
ข. อักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ  40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
5.2.4 ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายได้เสีย ภาษีป้ายแล้วอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตรา ตาม 1) 2) หรือ 3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น
5.2.5 ป้ายใดเสียต่ำกว่า 200 บาท ให้เสีย 200 บาท

5.3 การคำนวณภาษีป้าย

ให้คำนวณโดยนำพื้นที่ป้ายคูณด้วยอัตราภาษีป้าย เช่น ป้ายที่ต้องเสียภาษี
มีพื้นที่ 10,000 ตารางเซนติเมตร เป็นป้ายประเภทที่ 2 (อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ) ป้ายนี้เสียภาษี ดังนี้
      10,000 หาร 500 คูณ 20 เท่ากับ 400 บาท (10,000/500 x 20 = 400)



การขออนุญาตติดตั้งป้ายหรือเสียภาษี
1. ให้เจ้าของป้ายหรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายแจ้งขนาดและยื่นภาพถ่วยหรือภาพ สเก็ตของป้ายและแผนผังบริเวณที่ติดตั้งป้ายนั้นมาพร้อมกับคำขออนุญาตติดตั้ง ป้ายหรือแบบ แสดงรายการภาษีป้ายแล้วแต่กรณีเพื่อประโยชน์ในการสำรวจตรวจสอบ
2.ในการติดตั้งป้ายต้องไม่มีลักษณะที่จะเป็นอันตราจต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน และบริเวณที่ไม่อนุญาติให้ติดตั้งป้าย ได้แก่ บริเวณคร่อมถนน หรือทางสาธารณะ วงวียน อนุสาวรีย์ สะพาน สะพานลอย คนเดินข้ามถนนเกาะกลางถนน สวนหย่อม สวนสาธารณะ ถนน ต้นไม้ และเสาไฟฟ้า ซึ่งอยู่ในที่สาธารณะ

หลักฐานที่ต้องนำไป
1. บัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้าน
2. ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วน
3. ใบเสร็จรับเงินปีที่แล้ว

กำหนดเวลายื่นแบบ
- เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายและชำระภาษีป้าย ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
- เจ้าของป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่
1. มีป้ายต้องเสียภาษีป้าย ภายหลังเดือนมีนาคม
2. มีป้ายใหม่ แทนป้ายเดิมที่เสียภาษีป้ายแล้ว
3. เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมเป็นเหตุให้เสียภาษีป้ายหรือภาษีป้ายเพิ่มขึ้น
- ผู้รับโอนป้าย แจ้งการรับโอนป้ายภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันรับโอนป้าย

การชำระภาษี
- ให้เจ้าของป้ายชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
- ป้ายที่เริ่มติดตั้ง หรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้าย ตั้งแต่วันที่ติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี ถ้าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท ขึ้นไป ผ่อนชำระเป็น 3 งวด ๆ ละเท่า ๆ กันก็ได้

บทกำหนดโทษ
1. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท
2. ผู้ใดโดยรู้หรือจงใจแจ้งข้อควมเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีป้ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
3. ผู้ใดไม่แจ้งรับโอนป้าย หรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท ระยะเวลาการให้บริการโดยประมาณ 10 นาที ต่อรายไม่รวมขั้นตอนการตรวจสอบ สอบสวน (ถ้ามี)