การควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชแบบอินทรีย์
- แตนเบียนไตรโครแรมมา ซึ่งสามารถทำลายไข่ของศัตรูพืชได้หลายชนิดเช่น ไข่หนอนเจาะสมอฝ้าย ไข่หนอนกออ้อย ไข่หนอนแก้วส้ม ไข่หนอนคืบละหุ่ง ไข่หนอนใยผัก แตนเบียนเป็นต้น
- แตนเบียนหนอนชนิด Cotesia sp. เข้าทำลายหนอนกระทู้ผัก
- แตนเบียนไข่ เข้าทำลายไข่หนอนใยผัก
- แตนเบียนมวนลำไย
- แตนเบียนหนอนชอนใบส้ม
- แตนเบียนเพลี้ยไก่แจ้
- แตนเบียนหนอนกออ้อย
- แตนเบียนแมลงวันผลไม้
- เชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัส NPV (Nuclear Polyhedrosis Virus) ควบคุม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนคืบกะหล่ำ
- แบคทีเรีย เช่น เชื้อ BT (Bacillus thuringiensis) ควบคุม หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนคืบกระหล่ำ หนอนส้มแก้ว
- เชื้อรา เช่น เชื้อราเขียว (Metarhizium Anisopliae) ควบคุมหนอนด้วงแรดมะพร้าว หนอนด้วงหนวดยาว ตั๊กแตนปาทังก้า มวน แมลงเจาะผลกาแฟ แมลงสาบ ปลวก แมลงศัตรูอ้อย ด้วงงวง
- ไส้เดือนฝอย เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก จนมีการจัดเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง แต่ยังพอมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชหลายชนิดเช่น หนอนกินใต้ผิวเปลือก หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกอกล้วย ด้วงหมัดผัก ด้วงงวงมันเทศ แมลงวันผลไม้ ปลวก อย่างไรก็ดี ไส้เดือนฝอยเองก็จัดเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่งเช่นเดียวกัน เพราะสามารถเข้าทำลายรากพืช โดยจะดูดน้ำเลี้ยงและทำลายระบบราก เกิดเป็นอาการรากปม รากเป็นแผล หรือบิดเบี้ยว จึงควรมีความระมัดระวังในการใช้ไส้เดือนฝอยเป็นศัตรูธรรมชาติ
วิธีทางชีวภาพ (Biological Control)
เป็นวิธีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชด้วยสิ่งมีชีวิต สำหรับการป้องกันเชื้อโรคพืชโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ก็จัดเป็นวิธีการทางชีวภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งกล่าวในรายละเอียดไว้ในหัวข้อ "ปุ๋ยชีวภาพและเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์" ดังนั้นในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงวิธีทางชีวภาพเพื่อป้องกันและควบคุมแมลงศัตรูพืช โดยเราจะเรียกสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่นี้ว่าศัตรูธรรมชาติ (Natural Enemies) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 จำพวกหลักๆ คือ
1. ตัวห้ำ (Predator)
คือสิ่งมีชีวิตที่อาศัยการกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร เช่น นก งู จิ้งจก กิ้งก่า กบ เขียด คางคก แมงมุม ไรตัวห้ำ และแมลงศัตรูธรรมชาติต่างๆ โดยตารางข้างล่างเป็นตัวอย่างแมลงและแมงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญบางชนิด
ตารางแสดงแมลงและแมงตัวห้ำบางชนิด
2. ตัวเบียน (Parasite)
หรือ แมลงเบียน (Parasitic Insects) เป็นแมลงที่มีช่วงไข่หรือในวัยตัวอ่อน อาศัยเป็นปรสิตของแมลงศัตรูพืช ส่งผลให้แมลงศัตรูพืชตายในระหว่างที่ตัวเบียนเจริญเติบโต โดยแมลงเบียนนั้นมีอยู่มากมายหลากหลายชนิดในธรรมชาติแต่มักอ่อนแอต่อสารเคมี จึงมักไม่พบในพื้นที่ที่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ตัวอย่างของแมลงเบียนที่สำคัญได้แก่
3. เชื้อปฎิปักษ์ (Antagonistic Microorganism)
คือเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโรคของแมลงศัตรูพืช เช่น
การใช้สมุนไพร (Herbal Insecticide)
พืชสมุนไพรมีหลากหลายชนิดที่มีประโยชน์ในการใช้ป้องกันและควบคุมแมลงศัตรูพืช อีกทั้งบางชนิดยังสามารถช่วยในการควบคุมโรคพืชได้อีกด้วย ซึ่งในที่นี้ ได้รวบรวมพืชสมุนไพรบางส่วนพร้อม สรรพคุณ และวิธีใช้ ไว้ที่ท้ายหน้าเวปนี้ (ข้อมูลส่วนใหญ่มาจาก http://www.tungsong.com/samunpai/insect/Index.html) อย่างไรก็ดี ในการใช้พืชสมุนไพร ควรมีความระมัดระวังในการใช้ เพราะหากใช้ในปริมาณหรือความเข้มข้นสูงเกินไปก็อาจส่งผลเสียหายให้แก่พืชที่ปลูกได้ รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการใช้พืชสมุนไพรที่เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพืชหลัก เพราะอาจทำให้พืชหลักติดโรคได้
แมลงศัตรูพืช
เพื่อช่วยในการระบุชนิดของแมลงศัตรูพืช ในที่นี้ได้รวบรวมรูปภาพและข้อมูลคร่าวๆเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืชที่สำคัญไว้ในตารางข้างล่างนี้ และเนื่องด้วยมีการระบุในตารางเกี่ยวกับพืชตระกูลต่างๆที่เป็นเป้าหมายของแมลง จึงได้แสดงรายชื่อพืชผักที่สำคัญของพืชแต่ละตระกูลไว้ ณ.ที่นี้
- พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วแค ดอกแค ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ถั่วแขก ถั่วพลู ถั่วปากอ้า
- พืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน บวบ มะระ ฟักแม้ว ฟักเขียว แฟง ตำลึง ฟักทอง แตงโม แคนตาลูป น้ำเต้า
- พืชตระกูลมะเขือ เช่น มะเขือม่วง มะเขือยาว มะเขือเปราะ มะเขือเทศ ยาสูบ มะเขือพวง พริก มะแว้ง
- พืชตระกูลปาล์ม เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ลาน สาคู หมากเขียว หมากเหลือง หมากแดง
- พืชตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักกาดขาว คะน้า บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กวางตุ้ง ผักกาดหัว(หัวไชเท้า) สลัดร็อกเกต
- พืชตระกูลส้ม เช่น ส้ม มะนาว
- พืชตระกูลฝ้ายหรือชบา เช่น ฝ้าย กระเจี๊ยบ
แมลงศัตรูพืชจำพวกด้วง
แมลงศัตรูพืชจำพวกหนอนผีเสื้อ
แมลงศัตรูพืชจำพวกมวนและเพลี้ย
แมลงศัตรูพืชจำพวกอื่นๆ
สมุนไพรสำหรับป้องกันและควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช*
สมุนไพร | โรคหรือแมลงเป้าหมาย | ลักษณะการควบคุม | วิธืการใช้ |
---|---|---|---|
กระเทียม | เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้ผัก ด้วงปีกแข็ง โรคราน้ำค้าง โรคราสนิม | มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง สารขับไล่แมลง สารหยุดยั้งการดูดกินอาหาร สารฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย |
|
ขมิ้นชัน | หนอนกระทู้ผัก หนอนผีเสื้อ ด้วงงวงช้าง ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว มอด ไรแดง | เหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ขับไล่และกำจัดแมลงได้หลายชนิด |
|
ขี้เหล็ก | ด้วงถั่วเขียว ป้องกันและกำจัดแมลงในโรงเก็บ | สามารถป้องกันและกำจัดแมลงในโรงเก็บได้จำพวกแมลงปีกแข็ง ด้วง ต่างๆ |
|
ข่า | แมลงวันทอง | น้ำคั้นจากเหง้า มีสารดึงดูด สารไล่แมลง สารฆ่าแมลง สามารถไล่แมลงวันทองไม่ให้วางไข่ได้ 99.21 % และทำให้โรคใบจุดสีน้ำตาลในนาข้าง หายไป |
|
ขิง | แมลงวันทอง |
| |
คูน | หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม มอดแป้ง ด้วง | เนื้อฝักคูนจะมีสารประเภท Anthraquinones หลายตัวเช่น Aloin, Rhein Sennoside A, B และยังมี Organic acid สาร Anthraquinone มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง |
|
ดาวเรือง | เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อกะโหลก หนอนกะหล่ำปลี ด้วงปีกแข็ง ไส้เดือนฝอย | โดยทั่วไปมักจะปลูกดาวเรืองแซมตามแปลงผัก เพราะดอกและใบมีกลิ่นฉุน แมลงจึงไม่อยากเข้าไกล้ |
|
ดีปลี | แมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ |
| |
ตะไคร้หอม | หนอนกระทู้ หนอนใยผัก ไล่ยุง แมลง แมลงสาบ | มีสาร Verbena oil, Lemon oil, Indian melissa oil มีฤทธิ์ในการไล่แมลง |
|
น้อยหน่า | ตั๊กแตน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยหอย ด้วงเต่า หนอนใยผัก มวน ด้วงเต่าทอง แมลงวันทอง | มีพิษต่อแมลงทางสัมผัสและทางกระเพาะอาหาร |
|
บอระเพ็ด | เพลี้ยกระโดดน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น หนอนกอ โรคข้าวตายพราย โรคยอดเหี่ยว โรคข้าวลีบ | ใช้ได้ดีกับนาข้าว รสขมเมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในพืชจะทำให้แมลงไม่ชอบ |
|
ประทัดจีน | เพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อ หนอนชอนใบ หนอนแตงเทศ ไร ด้วงเต่า | เป็นพิษทางสัมผัสและทางกระเพาะและมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง ฆ่าตัวอ่อน ซึ่งในลำต้นจะมีสารฆ่าแมลงมาก ส่วนในราก ใบและเปลือก ก็มีสารคลาสซิน (Quassin) แต่ในปริมาณที่น้อยกว่า |
|
ผกากรอง | หนอนกระทู้ผัก | เมล็ดมีสาร Lantadene มีผลต่อระบบประสาทของแมลง |
|
พริก**,*** | มด เพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ โรคใบด่าง ไวรัสโรคใบหด ด้วง แมลงในโรงเก็บ |
ผลสุกมีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง เมล็ดมีสารฆ่าเชื้อรา ใบและดอกมีสารยับยั้งการขยายตัวของไวรัส
|
|
พริกไทย | มด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนผีเสื้อ ด้วงปีกแข็ง หนอนกะหล่ำปลี ด้วงในข้าวไวรัส | มีน้ำมันหอมระเหยและอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท |
|
ไพล | เชื้อรา | ใช้ยับยั้งการเติบโตของเชื้อราในข้าวบาร์เลย์ |
|
มะรุม | เชื้อรา แบคทีเรีย โรคเน่า | ในใบจะมีสารพวกผลึกของอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Pythium debangemum กำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย ได้แก่ โรคโคนต้น และผลเน่าของตระกูลแตง โรคผลเน่าใกล้พื้นดินของมะเขือเทศ โรคเน่าคอดินของคะน้า โรคแง่งขิงเน่า |
|
มะละกอ | โรคราสนิม โรคราแป้ง | ใบของมะละกอ มีสารออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา เช่น โรคราสนิม โรคราแป้ง |
|
มันแกว | เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ หนอนกะหล่ำ หนอนใยผัก ด้วงหมัดกระโดด มวนเขียว หนอนผีเสื้อ แมลงวัน | เมล็ดแก่มีสาร Pachyrrhrgin เป็นพิษต่อแมลงทางสัมผัสและทางกระเพาะอาหาร |
|
ยาสูบ*** | โรครา ด้วงต่างๆ หนอนกอ หนอนชอนในใบหรือชอนใบ หนอนผีเสื้อ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และไรต่างๆ |
| |
ยี่โถ | มด แมลงผลไม้ หนอน | เปลือกและเมล็ดจะมีสาร Glycoside, Neriodorin ซึ่งมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลง |
|
ยูคาลิปตัส | หนอน แมลงวัน |
| |
ละหุ่ง | ปลวก แมงกะชอน ไส้เดือนฝอย หนู | มีประสิทธิภาพในการป้องกันศัตรูพืช เช่น แมลงกะชอน หนู ปลวก ไส้เดือนฝอย |
|
ลางสาด | หนอนหลอดหอม | เมล็ดมีสาร Acid Alkaloid :ซึ่งเป็นพิษกับแมลงและหนอน |
|
เลี่ยน | หนอนกระทู้ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนเจาะผลโกโก้ ด้วงงวง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไรแดงส้ม เพลี้ยอ่อนกระหล่ำ หนอนผีเสื้อกะหล่ำ | เปลือกของต้น ใบ ผล เมล็ด มีสารที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง ขับไล่แมลง ยับยั้งการดูดกิน การเจริญเติบโต ของแมลง |
|
ว่านน้ำ | ด้วงหมัดผัก หนอนกระทู้ผัก แมลงวันทอง แมลงในโรงเก็บ ด้วงงวงช้าง ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว มอดตัวป้อม มอดข้างเปลือก | เหง้าจะมีน้ำมันหอมระเหย ชนิด Calamol aldehyde มีพิษต่อระบบประสาทของแมลง |
|
สลอด | เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ผัก หนอนไหม แมลงวันทอง แมลงวัน หอยทาก | ในเมล็ดจะมีสาร Corton oil ซึ่งเป็นสารสำคัญมีฤทธิ์ต่อการกำจัดแมลง |
|
สะเดา | ตั๊กแตน ด้วงหมัดผัก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจั๊กจั่น แมลงหวี่ขาว หนอนกระทู้ หนอนใยกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนกอ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนชอนใบ แมลงในโรงเก็บ | สารสกัดจากสะเดาที่มีเมล็ดในใบ มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง ขับไล่แมลง ต่อต้านการดูดกิน ยับยั้งการเจริญเติบโต ป้องกันและกำจัดแมลงได้หลายชนิด |
|
สาบเสือ | เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้ หนอนใยผัก | สามารถฆ่าแมลงและไล่หนอนได้เป็นอย่างดี |
|
สารภี | เพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนแตงเทศ ด้วงงวงข้าว ไร | เมล็ดแก่ ใบ เปลือก มีพิษต่อแมลงทางสัมผัส และทางกระเพาะอาหาร |
|
หนอนตายหยาก | หนอนผีเสื้อ หนอนกระทู้ หนอนหลอดหอม แมลงวันทอง | รากมีสารใช้กำจัดแมลง |
|
โหระพา | เพลี้ยอ่อน แมลงวัน หนอนแมลงวัน หนอนเจาะหัวมันเทศ | มีสารฆ่าแมลง ขับไล่แมลง และยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง |
|
**สารละลายที่มีความเข้มข้นมากไปอาจทำให้ใบไหม้ได้
***ไม่ควรใช้ฉีดกับพืชกลุ่มมะเขือ เพราะเนื่องจากเป็นพืชกลุ่มเดียวกันและอาจทำให้ติดโรคได้