วางแผนเปิดร้านอาหารสำหรับมือใหม่

วางแผนเปิดร้านอาหารสำหรับมือใหม่

การออกจากงานมาเป็นนายของตัวเองเปิดร้านกาแฟน่ารักฯ ร้านก๋วยเตี่ยว ร้านอาหารตามสั่งเล็กๆ ฯลฯ ถือเป็นความฝันของคนยุคนี้เลยทีเดียว แต่จากสถิติพบว่าร้อยละ 90 ของกิจการที่เปิดใหม่มักปิดตัว(เจ้ง) ในปีแรกและที่เหลืออีก 10% มีรอดเกิน 5 ปีเพียง 1% จากประสบการที่เคยเปิดร้านอาหารและอยู่ในกลุ่ม 90% หรือเรียกว่าเจ้งนั่นเองตอนตัดสินใจเซ้งร้านก็มานั่งคิดว่าจะทำต่อหรือไม่ ดูไปดูมาที่ร้านไม่มีความสามารถในการแข่งขันเพราะไม่ได้คุม Core ของธุรกิจคือเรื่องคน(พ่อครัว) เพราะผมทำอาหารเองไม่ได้และไม่มีเวลาอยู่ร้านตลอดเวลาด้วยต้องจ้างพ่อแล้วแม่งก็กวนตีน ตื่นสาย เปิดร้านก็สาย รสชาติไม่สม่ำเสมอ มันใจตัวเองสูงไม่ค่อยทำตามกลยุทธ์ของร้านทั้งเรื่องรสชาติและปริมาณ ส่วนเรื่องอื่นพอคุมได้ เมื่อคิดได้เยี่ยงนี้ก็ต้องถอยเซ้งร้านถูกๆแบบไม่เสียดายเงินลงทุน

แม้ว่าจะเสียเงินไปเยอะแต่สิ่งที่ได้คือความเข้าใจเรื่องธุรกิจว่าความสามารถในการแข่งขันของกิจการสำคัญกับความอยู่รอดของกิจการขนาดไป และเรื่อง flow ของธุรกิจทุกขั้นตอนตั้งแต่วัตถุดิบเอามาผลิตเป็นสินค้าจนขายได้เงินหมุนอย่างนี้ทุกวันและเรื่องจากสมัยก่อนที่ทำงานก็จะรับผิดชอบเป็นแผนกๆไปทำให้มองภาพรวมไม่ออก มาทำตรงนี้ถึงได้รู้ ก็ได้ความรู้เรื่องนี้แหละที่เอามาต่อยอดใช้ในการวิเคราะห์หุ้น ซึ่งปกติผมจะลงทุนแบบ value investment มีแนวคิดเหมือนเราเป็นเจ้าของกิจการหาหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันในราคาที่ปลอดภัยแล้วก็ถือยาวๆ ส่วนความรู้เริ่องการจัดการร้านเดี๋ยวเอาแชร์กันที่บล็อกนี้ครับ


สำหรับคนที่มีความคิดอยากลาออกจากงานมาเป็นเจ้าของกิจการไม่ว่าจะเป็นเปิดร้านอาหาร ร้านการแฟน่ารักๆ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านอาหารตามสั่ง ฯลฯ ก่อนจะลงทุนให้ถามตัวเองดังๆก่อนเลยว่า


"รับความเสี่ยงได้แค่ไหน?"


ทำธุรกิจส่วนตัวสมัยนี้ถ้าฝีมือไม่ถึงทุนไม่พออยู่รอดยากครับ โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นทุกอย่างต้องทำเองหมดต้องใส่ใจทุกรายและเอียดกว่าระบบจะอยู่ตัวก็หลายเดือน ไม่เหมือนลงทุนในหุ้นที่บริษัทเขาทุนหนากว่า ฐานลูกค้าสะสมมาเยอะกว่า ระบบการบริหารจัดการดีกว่า ฯลฯ ถ้ารับความเสี่ยงตรงนี้ไม่ได้ก็กลับบ้านไปไม่ต้องทำ เหนื่อยเปล่า เสียเงิน เสียเวลา ปวดกระบาลด้วย

ขั้นตอนการวางแผนธุรกิจร้านอาหาร

เมื่อตัดสินใจลาออกจากงานมาทำธุรกิจส่วนตัว คุณจะได้สวมหมวก CEO ในทันที CEO จะคิดแบบลูกจ้างเหมือนเดิมไม่ได้แล้วเพราะอนาคตของกิจการทุกอย่างจะขึ้นกับการตัดสินใจของคุุณ คนเป็นผู้บริหารมีหน้าที่ 3 อย่างคือ การวางแผน (Planning) การควบคุม(Controlling)ให้เป็นตามแผน และการติดตาม (Monitoring) งานเรื่อยๆไม่ใช่สั่งทิ้งสั่งขว้าง สำหรับหน้าที่ของ CEO ก็คือการบริหารกิจการให้มีกำไร กำไรก็คือยอดขายหักด้วยต้นทุน เวลาทำธุรกิจรายได้มันมีแค่บรรทัดเดียวแต่รายจ่ายมีเป็นร้อยบรรทัด กว่าจะเหลือเป็นกำไรในบรรทัดสุดท้ายของงบกำไรขาดทุนแทบ Shock


การวิจัยตลาดแบบเบื้องต้น

ก่อนเปิดร้านอาหารทำการบ้านนิดนึงหาเวลาว่างๆซักวันนั่งเล่นใจเย็น
Competitor ไปเดินเล่นแถวๆนั้นให้ทั่วๆดูว่ามีคู่แข่งกี่เจ้า ขายอะไรบ้าง กลยุทธ์การตลาดเป็นอย่างไรมันเล่นกันแรงแค่ไหน
 Competitive การแข่งขัน ถ้าธุรกิจแข่งขันกันรุนแรงมากเขาเปรียบเหมือน red ocean หรือน่านน้ำสีแดง แต่ละรายเลือดสาดกระจุย ทำไปกำไรไม่ค่อยมี เปิดร้านอาหารผมว่าแข่งขันกันสูงนะ เพราะมันเปิดงายเหลือเงินใช้เงินลงทุนไม่เยอะมาก เงินหมุนเวียนก็ซื้อของเข้าร้านวันต่อวัน ลูกค้าก็เลือกได้ไม่กินร้านนี้ก็ไปกินร้านอื่นได้อิ่มเหมือนกันอย่างตอนทำร้านวันเสาร์อาทิตย์จะขายดีเพราะร้านคู่แข่งปิดหมด 555
 Custommer ลูกค้า ก่อนเปิดร้านคุณรู้จักลูกค้าดีแค่ไหน ไหนๆจะเสียเงินแล้วเสียเวลาซักวันสองวันไปนั่งวิจัยลูกค้าหน่อยครับ
- ปริมาณคนเดิน อาจจะวัดเป็น คน/ชั่วโมง
- คนเยอะช่วงเวลาไหน วันนึงจะมีเวลาทำเงินทำทองอยู่ไม่กี่รอบครับแต่ละรอบพฤติกรรมไม่เหมือนกัน ด้วย กินตอนเช้ากับตอนเย็นก็ไม่เหมือนกัน
- สถานภาพ เพศ อายุ การศึกษา ฯลฯ เพราะแต่ละกลุ่มพฤติกรรมไม่เหมือนกันครับ
- พฤติกรรมลูกค้า ดูว่าคนส่วนใหญ่ทำอะไร เดินผ่านแบบเร็วๆจะรีบกลับบ้าน ค่อยๆเดินช็อบไปเรื่อย ฯลฯ
 Company มาดูที่ตัวเราว่ามีจุดแข็งจุดออนอะไร มีอะไรดีไปแข่งกับเขาบ้าง
กำหนดกลยุทธ์

นั่งดูไป 2-3 วันก็จะเริ่มรู้ว่าตลาดเป็นอย่างไร ลูกค้ากลุ่มไหนที่น่าสนใจที่จะดูดเงินได้ และตัวเรามีจุดแข็งที่คู่แข่งลอกเลียนได้ยากๆไปสู้เขาได้ เลือกลุ่มนั้นแหละ กลยุทธ์หลักตามตำราที่เขาสอนกันก็มีดังนี้
ต้นทุนต่ำ (cost Leadership Strategy) กำไรต่อหน่วยน้อยแต่เน้นขายปริมาณเยอะๆตัวอย่าง ร้านหมูทอดเจ้จง หลัง lotus พระราม4 ขายยังจะแจกฟรี เพราะพี่แกขายถูกมากบวกกำไรจิ้ดนึง ของแถมไม่อั้นทั้งน้ำจิ้ม น้ำพริก ผักแกล้ม เติมข้าวได้ไม่อั้น โคตรคุ้ม
เน้นความแตกต่าง (Differantation Strategy) อย่าทำอะไรให้เหมือนชาวบ้าน ที่เยาวราชมีร้านโต๊ะจีนอยู่ร้านนึงทั้งร้านมีโต๊ะเดียว รับแค่วันละโต๊ะด้วยแต่คนจองกันเป็นปี

จากกลยุทธ์สู่การปฎิบัติ
ส่วนใหญ่เวลาคนคิดจะเปิดร้านอาหารก็จะมองแค่การตลาด จะแต่งร้านอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เวลาทำจริงๆกว่าของจะออกจากครัวมันมีหลายส่วนงานที่ต้องทำงานเชื่อมโยงกัน  ลองดูวิดิโอข้างล่างจะเป็นการบรรยายเรื่อง Supply chain ตั้งแต่วัตถุดิบ ส่งไปผลิด จนออกมาเป็นสิ้นค้า และกระจายไปถึงผู้บริโภคว่าต้องผ่านผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน และแต่ละส่วนก็เป็นต้นทุนทั้งนั้น นักลงทุนมือใหม่จะไม่ค่อยรู้กว่าจะจับจุดได้จนอยู่ตัวก็หลายเดือน ไม่เหมือนพ่อค้าแม่ค้าที่ขายมานานเขาเล่าได้เป็นฉากๆเลยว่าทำอะไรบ้าง





แนวคิด value chain analysis ของเฮีย Michael E. Porter เครืองมือนึงที่นำมาใช้ในการวางแผนเปิดร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือธุรกิจอื่นๆได้และครบประเด็น แนวคิดแห่งห่วงโซ่แห่งคุณค่านี้แสดงให้เห็นถึง “ คุณค่า(value)” ทั้งหมดที่องค์กรมอบให้แก่ลูกค้าและลูกค้ายอมจ่ายก็คือกรอบนอก(มองเป็นยอดขายก็ได้) ส่วนกรอบในก็คือต้นทุนจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในองค์กร หักลบกันก็จะได้กำไร (Margin) ถ้ากิจกรรมไม่ทำงานสัมพันธ์กันเป็นทิศทางเดียวกันถึงขายของได้แต่ Margin ก็ไม่ค่อยมี วิธีใช้ก็ใ้ช้กรอบนี้ในการวางแผนแต่ละกิจกรรมให้สอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกับที่วางกลยุทธ์ไว้ โดยที่กิจกรรมแบ่งออกได้ 2 ประเภท
1. กิจกรรมหลัก / กิจกรรมพื้นฐาน
2. กิจกรรมสนับสนุน


value chain analysis
http://www.provenmodels.com

1. กิจกรรมหลัก

1.1 Inbound Logistics ก็คือกิจกรรมการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม และกระจาย วัตถุดิบมาที่ร้านของเราเป็นเรื่องที่ต้องคิดและตัดสินใจว่าจะทำกิจกรรมพวกนี้ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร เพราะทำร้านอาหารก็ต้องไปซื้อของเกือบทุกวัน ค่ารถ ค่าเก็บรักษาวัตถุดิบก็มีให้จ่ายได้ทุกวัน วันละนิดๆหน่อยๆเดือนนึงเยอะ กลยุทธ์การจัดการเรื่อง Inbound Logistics ของพ่อค้าแม่ขายที่เห็นตอนทำร้านก็ประมาณนี้
    1.1.1 ไปซื้อที่เดียว อาจจะเป็นที่ตลาดแ้ล้วขนมาเอง หรือสั่งกับพ่อค้าที่รับจ้าง shoping แล้วส่งให้เราที่ร้านทุกวัน ซื้อแบบนี้ก็อาจจะแพงกว่านิดนึงแต่สะดวกกว่า ประหยัดค่ารถ และค่าเสียเวลาที่จะไปซื้อตามแหล่งต่างๆ ตลาดใหญ่ๆที่ของครบราคาไม่แพงที่แม่ค้าชอบไปซื้อกันที่รู้จักในโซนบ้านผม ตลาดห้วยขวาง กับตลาดคลองเตยตอนทำร้าน(ร้านทำเลอยู่หน้าม.หอการค้า ลูกค้าหน้าตาดีพ่อค้าก็มีกำลังใจทำของอร่อยๆให้กินวิ้ว) ทุกเช้าก็ไปซื้อวัตถุดิบที่ตลาดห้วยขวางครับของเยอะดี เครื่องก๋วยเตี๋ยวไม่ค่อยหนักก็ขับมอเตอร์ไซด์ขนไปรอบเดียวได้ของมาเปิดร้านครบเลย
 ร้านสลัดกับร้านน้ำปั่นข้างๆมีผักผลไม้ที่หนักๆเปลืองเนื้อที่เยอะก็ต้อง จ้าง 3 ล้อมาที่ร้าน แค่ตลาดห้วยขวางมาหน้าม.หอการค้ามันคิด 40 บาทขนทุกวันแล้วคิดดูว่าเดือนนึงค่าใช้จ่าย Inbound Logistics เท่าไร

   1.1.2 ไปซื้อตามแหล่งถูกๆ แม่ค้าพวกนี้ชอบของถูกร้านไกลแค่ไหนก็ถ่อสังขารไป กาแฟปากซอยที่ผมขอบเดินไปกินทุกเช้า เขาจะมีแหล่งวัตถุดิบถูกๆของเขา ว่าแก้วไปซื้อตรงนี้ เมล็ดกาแฟสั่งตรงนั้น นมซื้อที่นูนฯลฯ ประหยัดต้นทุนได้แต่ต้อง trade off กับต้นทุน Logistics เพราะต้องเสียค่ารถในซื้อหลายที่ ไปซื้อบ่อยก็ไม่ได้ต้องซื้อของมาตุนไว้เยอะๆ เงินจมค่าของอีก


อีกเรื่องนึงที่ต้องคิดคือของมาถึงร้านแล้วจะจัดเก็บวัตถุดิบอย่างไรให้ดูสดก่อนถึงมือลูกค้า เพราะสินค้าในหมวดอาหารเป็นสินค้าที่เน่าเสียได้ถ้าของค้างไว้นานเอามาทำมันจะไม่อร่อย ถ้าตามร้านทั่วไปจะจัดเกับในถังน้ำแข็ง บางร้านก็มีสองถังคือถั่งใส่น้ำแข็งสำหรับให้ลูกค้ากินในร้าน กับถังใส่น้ำแข็งสำหรับแช่ของ น้ำแข็งถุงนึงก็ 40 บาทต้องซื้อทุกวันเดือนนึงก็...

1.2 การผลิตออกมาเป็นสินค้าหรือบริการ(Operations)
รูปแบบร้านอาหารจะมี 2 แบบคือ
ผลัก (Push) ให้นึกถึงร้านข้าวแกง คือทำเตรียมไว้ก่อนแล้วก็ผลักใส่ไล่ส่งไปให้ลูกค้า ขายไม่หมดก็ทิ้ง ขายข้าวแกงจะเหนื่อยตอนเตรียมแต่มันส์ตอนขายเราะตักขายอย่างเดียว
ดึง (Pull) ให้นึกถึงร้านก๋วยเตียว ร้านกาแฟ ที่พอมีคนสั่งถึงค่อยทำให้ลูกค้า ร้านแบบนี้ตอนเตรีมของไม่ค่อยเหนื่อยแต่เหนื่อยตอนทำ เพราะลูกค้าสั่งมาหลากหลายงง


ส่วนยากที่สุดของการผลิตในร้านอาหารไม่ใช่ทำให้อร่อย แต่คือความสม่ำเสมอของรสชาติ ต้องใช้ฝีมือหน้าครัวเยอะครับ ทำตามสูตรเป็ะๆไม่ได้เพราะวัตถุดิบอย่างเดียวกันรสชาติก็ไม่เหมือนกัน อย่างมะนาวคนละลูกก็รสไม่เหมือนกัน หม้อน้ำซุบก๋วยเตียวแต่ละช่วงเวลาก็รสชาติไม่เหมือนกันต้องคอยเอาน้ำใส่หรือปรุ่งเพิ่มเรื่อยๆ


เรื่องความเร็วเป็นเรื่องที่ต้องคอยปรับปรุ่งเรื่อยๆครับ ง่ายๆเลยก็ดูว่าอะไรทำพร้อมกันได้บ้างอย่างลวกก๋วยเตียวทีละกระชอนก็เป็นลวกพร้อมกัน2กระชอน ,หรือว่าลูกชิ้นกับผักลวกเก็บไว้ก่อน,หน้าครัววางเครื่องยังไงให้หยิบเครื่องสะดวก , ทำอย่างไรให้ล้างกระทะเร็วขึ้น เอาหลายๆออเดอร์มารวมๆกันทำทีเดียว ฯลฯ


ธรรมชาติของการผลิตอาหารแต่และประเภทก็กระทบกับต้นทุนด้วยแก้ไม่ได้ ร้านที่ใช้วัตถุดิบร่วมกันได้เยอะก็เหนื่อยน้อยหน่อย เช่นร้านหอยทอดผัดไทย ร้านร้าดหน้าผัดซีอิ้ว พวกนี้เครื่องปรุงเหมือนๆกันซื้อของก้ซื้อทีเดียวเยอะๆประหยัดเงิน ไม่เหมือนพวกร้านอาหารตามสั่ง ร้านส้มต่ำ พวกนี้ใช้เครืองเยอะซื้อทีอย่างละนิดอย่างละหน่อย

1.3 Outbound logistics
กิจกรรมเกี่ยวกับ เคลื่อนย้าย การจัดเก็บ รวบรวม การกระจายสินค้าและบริการที่เสร็จแล้วไปยังผู้บริโภค ถ้าร้านมีสาขาเดียวไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหรแค่คิดว่าจะทำอย่างไรให้รักษาสินค้าให้คงสภาพเดิมได้ก่อนถึงมือผู้บริโภคแล้วกัน อย่างร้านขายหมูปิ้งจะมีปัญหาเรื่องนี้มากเพราะหมูปิ้งเย็นแล้วก็ไม่อร่อย เอาไปอุ่นหมูก็แข็ง ต้องกินร้อนฯ พอเก็บไว้ไม่ได้ก็ไปหนักที่ฝ่ายผลิตต้องวางแผนดีๆ ถ้าปิ้งไว้น้อยไปก็ขายไม่ทัน ปิ้งมากไปก็ของเหลือขายไม่ออก


ถ้ามีหลายสาขาหรือเปิดเฟรนไซน์ ก็ต้องคิดแล้วว่าจะมีครัวกลาง? แล้วส่งอะไรไปให้ร้านสาขา? ร้านสาขาจัดเก็บอย่างไร? อย่างร้านชาย 4 บะหมี่เกี่ยวก็จะมีบริการจัดส่งวัตถุดิบให้ร้านสาขาทุกอาทิตย์ ร้านสาขาก็จะต้องตุนสต็อกเผื่อขายไว้ 1 อาทิตย์ด้วย

ถ้ามีบริการจัดส่งด้วยก็ต้องคิดอีกว่าจะทำอย่างไร ใช้รถอะไรไปส่ง ฯลฯ ใช้เวลาเท่าไรบางร้านก็จะผูกสัญญาใจกับมอเตอร์ไซต์รับจ้างแถวนั้นให้ไปส่ง

1.4 การตลาด และ การขาย (Marketing and sales)
กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ เช่น การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การเลือกช่องทางการจัดจำหน่าย ความสำคัญคือคุณเจาะลูกค้ากลุ่มไหนก็ต้องทำตลาดให้ตรงกับกลุุ่มลูกค้า ขณะทำร้านก็ต้องคอยสังเกตุพฤติกรรมลูกค้าตลอดว่าคนที่มีกินเป็นกลุ่มไหน เข้ามาร้านแล้วทำอะไร สั่งอะไรเป็นหลัก ฯลฯ

1.5 การให้บริการ (Services)
ทำร้านอาหารถ้าใจไม่รักการบริการก็อย่าทำเลยครับหงุดหงิด

เรื่องการรับ Order สำคัญมากครับถ้าคนรับ Order ดีๆเจ้าของรวย รายการไหนกำไรเยอะๆก็จะเชียร์อันนั้น หรือวัตถุดิบเหลือเยอะๆกลัวเน่าก็เชียร์เมนูนั้นซะหน่อย ลูกค้าสั่งน้อยไปก็เชียร์ให้สั่งเพิ่ม

กระบวนการต่อมาคือการ Order process ต้องส่งต่อข้อมูลไปฝ่ายบัญชี กับครัว และเด็กเสริพ ฝ่ายบัญชีก็เตรียมคิดเงิน ครัวได้ Order มาก็ต้องมาวางแผนการผลิตถ้าร้านใหญ่หัวหน้าพ่อครัวก็จะเป็นคนทำ พออาหารออกจากครัว เด็กเสริพก็ต้องรู้อีกว่าส่งโต๊ะไหน

ระบบที่ต้องออกแบบก็คือ Order-to-Ship เอาของไปหาลูกค้าให้ได้ ร้านPizzaก็จะกำหนด Order-to-Ship ไว้ที่ 20 นาทีถ้าทำไม่ได้ลูกค้าไม่ต้องเสียเงิน ฝ่ายlogistics วิ่งกันหัวปั่น หน้าที่ก็คือ Monitoring Cumminication กันทั้งภายในองค์กร (ไม่มีวัตถุดิบก็ของร้องให้จัดซื้อไปหามา สั่งให้ฝ่ายผลิตผลิตสินค้า) และภายนอกองค์กร (ลูกค้า ฯลฯ)


2. กิจกรรมสนับสนุน (Support activities)

2.1 โครงสร้างธุรกิจ (Firm infrastructure)
ถ้าตามร้านอาหารทั่งไปก็จะจัดหน้าที่เป็น แคชเชียร์ ครัว บาร์น้ำ เด็กเสริพ

2.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management)
ทำร้านอาหารเรื่องการจัดการคนสำคัญมากครับโดยเฉพาะพ่อครัวนี่เจ้าปัญหาจริงๆ เจ้าของทำเองไม่เป็นพ่อครัวแม่งต่อรองชิบหายเลย บางทีมาเปิดสายบ้าง โดดงานบ้าง อารมณ์ไม่ดีรสชาติเปลี่ยนไปบ้าง และที่หายากอีกอย่างก็เด็กเสริพ ลองไปดูตามร้านก็ได้ครับคนไทยหายากแระมีแต่แรงงานพม่าทั้งนั้น

2.3 การจัดการเทคโนโลยี (Technology management)
ออกแบบระบบดีข้อมูลก็จะไหลลื่นมากขึ้น อย่าง MK เขาใช่ Poket pc มาใช้รับออเดอร์เหตุผลคือเพื่อให้บริการได้เร็วขึ้นจากแต่ก่อนพอเด็กเสริบรับออเดอร์ยังเดินไปไม่ถึงครัวเลยมีลูกค้ารายใหม่มาสั่งอีก

นอกจากความรวดเร็วแล้วยังช่วยลดความผิดพลาดลงได้ ส่วนใหญ่พอรับออเดอร์เสร็จ ข้อมูลก็จะส่งไปที่ครัวบอกว่าต้องทำอะไรบ้าง และส่งไปที่แคชเชียร์เตรียมคิดเงิน พอครัวทำเสร็จพนักงานก็จะรู้ว่ารายการอาหารนี้ต้องส่งไปที่โต๊ะไหน

2.4 การจัดหาปัจจัยการผลิต (Procurement)
แหล่งซื้อของส่วนใหญ่เขาจะปิดเป็นความลับเลยนะเพราะถ้าเรารักษาความลับไว้ได้คู่แข่งก็ลอกเลียนแบบยาก อย่างบางร้านปัจจัยการผลิตถือเป็นจุดขายของเขาเลย หน้าที่ของเราคือสืบเสาะไปเรื่อยๆ


คิดเสร็จก็ต้องวาง Actionplan
ต่อไปก็มาเขียน action plan ชี้ให้ชัดว่าจะทำอะไร อย่างไร แบ่งให้ใครรับผิดชอบ และจะทำเมื่อไร งบประมาณเท่าไร



เมื่อวางแผนเสร็จแล้วขั้นตอนสุดท้ายคือการลงมือทำตามแผนให้เต็มที่ ผลออกมาจะเป็นไงช่างมัน การยอมรับในผลที่เกิดขึ้นไม่ฟูมฟายเขาเรียก สันโดษครับมีปัญหาก็แก้ปัญหาไป ใช้หลัก PDCA ไปเรื่อยๆครับ แรกๆยังทำงานไม่มีมาตรฐานก็ต้องพยายมสร้างมาตรฐานการทำงาน(work standard)ขึ้นมาและพยายามพัฒนามาตรฐานให้สูงขึ้นเรื่อยๆครับ



ก็หวังว่าบทความนี้คงสร้างประโยชน์ให้ผู้สนใจไม่มากก็น้อยเจริญในการการลงทุนครับ ทำจริงยังมีอะไรมากกว่านี้อีกเยอะครับ