2/22/2555

วันนี้กูเกิ้ลเปลี่ยน อีกแล้ว

วันนี้กูเกิ้ลเปลี่ยน อีกแล้ว


         ภาพนั้นคือ ทฤษฎีคลื่นแม่หล็กไฟฟ้าของ Maxwell และการทดลองของ Hertz
ภาพลูกคลื่นวิ่งไปมา ในหน้าจอ ออสซิโลสโคป คงเป็นสัญลักษณ์ ที่นักเรียน นักศึกษา เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แถมยังมีการเรียกหน่วยต่างๆ ออกมาให้เราจดจำไปใช้ในการเรียนการสอน ด้วย



Heinrich Rudolf Hertz (February 22, 1857 – January 1, 1894)

          ประวัติ:   Heinrich Rudolf Hertz  จบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน และรับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยคีล จากการค้นพบที่สำคัญของ แมกซ์เวลล์ ทำให้  Heinrich Rudolf Hertz  หันมาสนใจการศึกษาเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า   การศึกษาของแมกซ์เวลล์พบว่า ถ้านำตัวนำมารับประจุไฟฟ้า หรือให้คายประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว มันจะต้องเกิดการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกไปด้วย  เพราะประจุที่ให้แก่ตัวนำนั้นจะไม่ขึ้นอยู่ในตัวนำตลอดไป แต่มันจะคายประจุออกมาเรื่อยจนกระทั่งเป็นกลางทางไฟฟ้า 

       การคายประจุแบบนี้จะเป็นการแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมานั่นเอง    Heinrich Rudolf Hertz  คิดว่าหากนำสายตัวนำมาต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดจะทำให้กระแสไฟฟ้าวิ่งไปจนสุดปลายสาย ที่ไม่ต่อกลับเข้าวงจร กระแสไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ต่อไปอีกหรือไม่   ในความคิดของแมกซ์เวลล์ กระแสไฟฟ้าจะแพร่กระจายเหมือนกันเสียงของระฆังที่ถูกตี   ส่วนความดังของเสียงจะขึ้นกับระยะทาง    

         Heinrich Rudolf Hertz ได้ทำการทดลองนี้ซ้ำโดยใช้ขดลวด 2 ขด เป็นอุปกรณ์ ขวดที่ 1 ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้า และขดที่ 2 ทำหน้าที่รับสัญญาณ   ผลการทดลองของเขาเป็นไปตามทฤษฏีของแมกซ์เวลล์ทุกประการ  กล่าวคือ แม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ผ่านอากาศได้    Heinrich Rudolf Hertz  ได้พัฒนาสายอากาศ(Antenna) สำหรับส่งสัญญาณหลายชนิด และได้ทดสอบคุณสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้าของวัสดุหลายชนิด ภายหลังเขาจึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์